การอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ และโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน

From AirKM
Revision as of 11:01, 22 June 2022 by Kamonwit (talk | contribs) (Created page with " =การอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ= ''17 - 18 ธันวาคม 2563'' คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผศ.ดร.สมพร...")
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

การอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ

17 - 18 ธันวาคม 2563

คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้จัดกิจกรรม การอบรมการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือและโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวของกับสถานการณ์ฝุ่นควันในภาคเหนือ และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับประชาชนที่เข้ารับการอบรม

การอบรมแบ่งออกเป็น 2 วัน ได้แก่

  • วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2563 ได้จัดการอบรม ณ ห้องประชุม Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้
    1. ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพ โดย รองศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล
    2. ลมฟ้าอากาศ มลพิษทางอากาศ และแอปพลิเคชันการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์
    3. องค์ความรู้พื้นฐานเรื่องมลพิษทางอากาศ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ
    4. การเฝ้าระวังแบะการเตือนภัยมลพิษทางอากาศ และดัชนีคุณภาพอากาศหรือ Air Quality Index (AQI) โดย รองศาสตราจารย์ เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล
    5. นวัตกรรมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา
    6. นวัตกรรมห้องปลอดฝุ่น PM2.5 (Safety Zone) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศธนา คุณากร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ
  • วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 ได้จัดการอบรม ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้
    1. การรายงานสถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) และการอ่านค่าพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในระดับพื้นที่ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศรา เจริญปัญญาเนตร
    2. เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับตรวจจับความร้อน (Thermal Imaging UAV) เพื่อการป้องกันและควบคุมไฟป่าในระดับพื้นที่ โดย อาจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ
    3. วิธีการดับไฟป่าแบบมืออาชีพและปลอดภัย และฝึกการจำลองสถานการณ์ดับไฟป่าและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย นางสาวจันทรเพ็ญ เกษตรสินธ์