การอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ และโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน
ในวันที่ 17 - 18 ธันวาคม 2563 คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดกิจกรรม การอบรมการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือและโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน
การอบรมด้านการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือ[edit]
17 - 18 ธันวาคม 2563
คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้จัดกิจกรรม การอบรมการจัดการมลพิษทางอากาศสำหรับภาคเหนือและโครงการต้นกล้าท้าหมอกควัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวของกับสถานการณ์ฝุ่นควันในภาคเหนือ และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับประชาชนที่เข้ารับการอบรม
การอบรมแบ่งออกเป็น 2 วัน ได้แก่
- วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม 2563 ได้จัดการอบรม ณ ห้องประชุม Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้
- ผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพ โดย รองศาสตราจารย์ นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล
- ลมฟ้าอากาศ มลพิษทางอากาศ และแอปพลิเคชันการบริหารจัดการเชื้อเพลิงชีวมวล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์
- องค์ความรู้พื้นฐานเรื่องมลพิษทางอากาศ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร จันทระ
- การเฝ้าระวังแบะการเตือนภัยมลพิษทางอากาศ และดัชนีคุณภาพอากาศหรือ Air Quality Index (AQI) โดย รองศาสตราจารย์ เศรษฐ์ สัมภัตตะกุล
- นวัตกรรมหน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าน วิริยา
- นวัตกรรมห้องปลอดฝุ่น PM2.5 (Safety Zone) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยศธนา คุณากร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ
- วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม 2563 ได้จัดการอบรม ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้
- การรายงานสถานการณ์จุดความร้อน (Hotspot) และการอ่านค่าพิกัดตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ในระดับพื้นที่ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อริศรา เจริญปัญญาเนตร
- เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับตรวจจับความร้อน (Thermal Imaging UAV) เพื่อการป้องกันและควบคุมไฟป่าในระดับพื้นที่ โดย อาจารย์ ดร.พลภัทร เหมวรรณ
- วิธีการดับไฟป่าแบบมืออาชีพและปลอดภัย และฝึกการจำลองสถานการณ์ดับไฟป่าและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย นางสาวจันทรเพ็ญ เกษตรสินธ์