เครื่องกรองอากาศ

From AirKM
Revision as of 15:32, 14 June 2022 by Kamonwit (talk | contribs)
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

เครื่องกรองอากาศ

เครื่องกรองอากาศ​ (Air Purifier) คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในอากาศ เช่น ฝุ่นที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) แบคทีเรีย ไวรัส ต้นเหตุที่ทำให้เกิดภูมิแพ้ รวมถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่าง กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอับ กลิ่นเหม็นในบ้านให้หายไป ซึ่งเครื่องกรองอากาศทำงานโดยการดูดอากาศเข้าตัวเครื่องผ่านตัวกรองเพื่อดักจับสิ่งเหล่านี้เอาไว้ แล้วปล่อยอากาศบริสุทธิ์ออกมาแทน เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการจัดทำห้องปลอดฝุ่น

เครื่องกรองอากาศ Xiaomi 3C[1]

การเลือกเครื่องกรองอากาศ

ในการเลือกใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดปริมาณฝุ่นละออง ควรดำเนินการตามคำแนะนำ ดังนี้

  1. ตรวจสอบความปลอยภัยของเครื่องเบื้องต้น จากการดูด้วยสายตา เช่น สายไฟ มอเตอร์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยไม่ควรมีความร้อนสูงขึ้นในบริเวณมอเตอร์ระหว่างที่เครื่องกรองอากาศทำงาน หรืออาจตรวจสอบจากการได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มอก.1516-254 (เฉพาะด้านความปลอดภัย)
  2. เลือกเครื่องกรองอากาศให้เหมาะกับขนาดห้องเครื่องกรองอากาศทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ดูค่า Clean Air Delivery Rate; CADR ซึ่งคือ ปริมาณการให้อากาศที่มีค่า CADR สูงจะเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องกรองอากาศ เฉพาะด้านประสิทธิภาพการลดอนุภาคละเอียด PM2.5 (มอก. 3061-2563)
ขนาดพื้นที่ห้อง (ตารางเมตร) CADR (ลูกบาศ์กเมตรต่อนาที) CADR ต่ำสุด (ลูกบาศ์กเมตรต่อนาที)
50 6.49 5.84
48 6.23 5.61
46 5.97 5.38
44 5.71 5.14
42 5.45 4.91
40 5.19 4.68
38 4.94 4.44
36 4.68 4.21
34 4.42 3.97
32 4.16 3.74
30 3.90 3.51
28 3.64 3.27
26 3.38 3.04
25 3.24 2.92
24 3.12 2.81
23 2.99 2.69
22 2.86 2.57
21 2.73 2.45
20 2.60 2.34
19 2.47 2.22
18 2.34 2.10
17 2.21 1.99
16 2.08 1.87
15 1.95 1.75

วิธีการติดต้ังเครื่องกรองอากาศ

  • ควรติดต้ังในห้องปิด ทำความสะอาดบริเวณภายในห้องหรือบริเวณที่มีการติดตั้ง เครื่องกรองอากาศไม่ให้มีการสะสมของฝุ่น
  • ไม่วางเครื่องกรองอากาศในบริเวณท่ีอากาศชื้น เช่น หน้าห้องน้ำ เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดการสะสมของเชื้อต่าง ๆ ภายในเครื่องกรองอากาศได้
  • วางเครื่องกรองอากาศด้านที่ไม่มีการดูดอากาศเข้าไปใกล้กับผนัง เช่น บริเวณด้านหลังของ เครื่องไปใกล้กับผนังด้านใดด้านหนึ่งของห้องจะส่งผลให้ฟอกอากาศได้เร็วขึ้น และไม่มี ด้านใดของห้องที่เกิดการสะสมของฝุ่น
  • ควรตั้งเครื่องกรองอากาศห่างจากผนังหรือ สื่งกีดขวางทางเดินลมอย่างน้อยประมาณ 10 เซนติเมตร
  • ควรเปลื่ยนแผ่นกรองหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามระยะเวลาท่ีกำหนดไว้ในคู่มือหรือสังเกตจากแผ่นกรอง หากมีสะสมของฝุ่นปริมาณมากควรทำการเปลี่ยน
  • ควรปฏิบัติตามคาแนะนาในคู่มืออย่างเคร่งครัด

มาตรฐานแผ่นกรองอากาศ

มาตรฐานของแผ่นกรองอากาศท่ีนิยมใช้ในเมืองไทยอ้างอิงจาก 2 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานทางอเมริกาและยุโรป

มาตรฐานทางอเมริกา

อิงจากชมรมวิศวกรด้านการทำความร้อน ความเย็นและ การปรับอากาศของอเมริกา (ASHRAE–American Society of Heating, Refrigerating and Air Conditioning Engineers, Inc.) ซึ่งมีมาตรฐานเกี่ยวกับการทดสอบแผ่นกรองอากาศโดยเฉพาะคือ มาตรฐาน ASHRAE 52 โดยมีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขเป็น ASHRAE 52.1 และ ASHRAE 52.2

มาตรฐาน ASHRAE 52.1 แบ่งวิธีการทดสอบแผ่นกรองอากาศเป็น 2 ประเภท ตามประเภทของ แผ่นกรองอากาศ คือ แผ่นกรองอากาศขั้นต้น (Pre-Filter) และแผ่นกรองขั้นกลาง (Medium filter) โดยอาศัยความสามารถในการกรองฝุ่นตามคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของฝุ่นในอากาศเป็นตัวแบ่งประเภท โดยพื้นฐานแล้วฝุ่นที่อยู่ในอากาศมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ฝุ่นหยาบที่มีน้ำหนักแขวนลอยอยู่ในอากาศไม่นาน และฝุ่นละเอียดมีน้ำหนักเบาและแขวนลอยในอากาศ อีกท้ังไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

MERV–Minimum Efficiency Reporting Value เป็นมาตรฐาน ASHRAE ที่ปรับปรุงข้ึน เป็นมาตรฐาน ASHRAE52.2P-1999 โดยแบ่งระดับของประสิทธิภาพในการกรองออกเป็น 16 ระดับ คือ MERV 1–MERV 16 และทำการวัดโดยใช้ฝุ่นขนาด 0.3–10 ไมครอน โดยแบ่งขนาดออกเป็น 12 ช่วง และแบ่งช่วงกว้าง เป็น E1 (0.3-1.0 μ), E2 (1.0-3.0 μ), E3 (3.0-10.0 μ) เพื่อหาค่าเฉลี่ยและเทียบตารางเกณฑ์เพื่อกำหนดว่าแผ่นกรองที่ทดสอบน้ันอยู่ในเกณฑ์ MERV1–MERV16 ว่าจะเป็นระดับใด

มาตรฐานทางยุโรป

มาตรฐานทางยุโรป EN779-2002 และ EN1822-1998 ซึ่งการทดสอบตาม EN779 แบ่งประเภทของแผ่นกรองอากาศเป็นแบบหยาบคือ class G1–G4 และแบบละเอียดคือ F5–F9 ส่วนมาตรฐาน EN1822 เป็นการทดสอบมาตรฐานแผ่นกรองอากาศประเภท High Efficiency Particulate Absorption หรือ HEPA ได้แบ่งประเภทประสิทธิภาพของแผ่นกรองอากาศ คือ H10 – H14

สมาคมวิศวกรรมปรับอากาศแห่งประเทศไทย ได้ระบุถึงการทำความสะอาดอากาศภายนอกตามมาตรฐาน 62.1 กาหนดไว้ดังนี้ คือ

สำหรับอายุการใช้งานของแผ่นกรองอากาศ โดยทั่วไปผู้ขายมักกำหนดว่าแผ่นกรองอากาศชั้นต้น (20-30% ASHRAE Dust spot efficiency) มีอายุการใช้งานได้ 3-6 เดือน แผ่นกรองอากาศช้ันกลาง (45-95% ASHRAE Dust spot efficiency) มีอายุการใช้งาน 6-12 เดือน และแผ่นกรองอากาศชั้นสุดท้าย (> 98% จนถึง HEPA, ULPA efficiency) อายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี ถ้าหากบำรุงรักษาเปลี่ยนแผ่นกรอง และช้ันกลาง อาจมีอายุการใช้งานได้นานถึง 2 ปี ซึ่งผู้ผลิตไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจน เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและปริมาณฝุ่นละออง

เครื่องกรองอากาศประดิษฐ์[2]

เครื่องกรองอากาศประดิษฐ์

เครื่องกรองอากาศประดิษฐ์(DIY) การเลือกใช้เครื่องกรองอากาศแบบประดิษฐ์ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถนำอุปกรณ์มาประยุกต์และปรับปรุงมีหลักการทำงานที่ไม่ซับซ้อน โดยการนำอากาศผ่านตัวกรองชนิด HEPA หรือชนิดอื่น ๆ ที่สามารถกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้มาประกอบ เข้ากับพัดลม ทั้งน้ี ควรเลือกอุปกรณ์ท่ีมีปลอดภัยและได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

สื่อเพิ่มเติม

อ้างอิงรูป

[1] https://backend.central.co.th/media/catalog/product/2/8/288e59deb2ed62749f4d557db49b86597228918c_mkp0596834dummy_2.jpg?impolicy=resize&width=553

[2] รูปโดย ผศ.ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ