ห้องปลอดฝุ่น: Difference between revisions
(Created page with "=ห้องปลอดฝุ่น= ห้องปลอดฝุ่น (Clean Air Shelter หรือ Smog Safety Zone) เป็นสถานที่หรือห้องที่จัดเตรียมเพื่อลดการสัมผัสฝุ่นละออง ทั้งฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และPM10|ฝุ่นละอองขนาดไม่...") |
No edit summary |
||
Line 27: | Line 27: | ||
==การกรองอากาศ== | ==การกรองอากาศ== | ||
ระบบกรองอากาศ | ระบบกรองอากาศ เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการลด[[PM2.5|ฝุ่นละออง]]ในห้องหลังจากการอุดรอยรั่วภายในห้อง และใช้[[เครื่องกรองอากาศ|เครื่องกรองอากาศ]]เพื่อลด[[PM2.5|ฝุ่น]]ภายในห้อง โดยเลือก[[เครื่องกรองอากาศ|เครื่องกรองอากาศ]]ที่มีขายตามท้องตลาด หรือ[[เครื่องกรองอากาศ|เครื่องกรองอากาศประดิษฐ์]]ก็ได้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ | ||
*หลังจากที่อุดรอยรั่ว ปิดช่องประตูหน้าต่างเสร็จแล้ว ให้ติดตั้งระบบฟอกอากาศเข้าไปในห้อง โดยคำนึงถึง ประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศให้มีขนาดเหมาะสม กับขนาดห้อง | *หลังจากที่อุดรอยรั่ว ปิดช่องประตูหน้าต่างเสร็จแล้ว ให้ติดตั้งระบบฟอกอากาศเข้าไปในห้อง โดยคำนึงถึง ประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศให้มีขนาดเหมาะสม กับขนาดห้อง | ||
* | *ควรบำรุงรักษา[[เครื่องกรองอากาศ|เครื่องกรองอากาศ]] โดยเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ เช่น แผ่นกรอง หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือหรือสังเกตจากแผ่นกรอง หากมีสะสมของ[[PM2.5|ฝุ่นละออง]]ปริมาณมากควรทำการเปลี่ยน | ||
==การดันฝุ่นออกจากห้อง== | ==การดันฝุ่นออกจากห้อง== | ||
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูง ดำเนินการหลังจากการอุดรอยรั่วภายในห้อง โดยห้องปลอดฝุ่น | เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูง ดำเนินการหลังจากการอุดรอยรั่วภายในห้อง โดยห้องปลอดฝุ่น ในรูปแบบความดันอากาศพร้อมระบบ[[เครื่องกรองอากาศ|ฟอกอากาศ]] สามารถดำเนินการได้โดยสร้างความกัน แตกต่างระหว่างห้อง โดยภายในห้องต้องไม่มีรอยรั่วมากเกินไปและไม่มีช่องเปิดอื่น ๆ หากต้องการให้พื้นที่มี ความดันมากหรือเป็นบวกจะมีการเติมอากาศเข้าไปในห้องเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอากาศ | ||
ดังนั้น การทำให้ห้องเป็นระบบความดันอากาศพร้อมระบบกรองอากาศ (Positives pressure) จึงควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและปลอดภัย ทั้งการเลือกใช้พัดลมระบายอากาศ (Blower) และ เครื่องกรองอากาศ | ดังนั้น การทำให้ห้องเป็นระบบความดันอากาศพร้อมระบบกรองอากาศ (Positives pressure) จึงควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและปลอดภัย ทั้งการเลือกใช้พัดลมระบายอากาศ (Blower) และ [[เครื่องกรองอากาศ|เครื่องกรองอากาศ]]กรณีใช้แผ่นกรองอากาศควรเลือก MERV 11 ข้ึนไป หรือเลือกชนิด High-efficiency particulate air (HEPA) ซึ่งเป็นแผ่นกรองที่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาดเล็กมาก (Ultrafine Particles) อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ควรได้รับคำแนะนาจากวิศวกรหรือช่างที่มีความชำ นาญ | ||
=การเลือกห้องในการจัดทำห้องปลอดฝุ่น= | =การเลือกห้องในการจัดทำห้องปลอดฝุ่น= |
Latest revision as of 19:02, 13 June 2022
ห้องปลอดฝุ่น[edit]
ห้องปลอดฝุ่น (Clean Air Shelter หรือ Smog Safety Zone) เป็นสถานที่หรือห้องที่จัดเตรียมเพื่อลดการสัมผัสฝุ่นละออง ทั้งฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่เสี่ยง โดยต้องมีค่าฝุ่นละอองเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศไม่เกินมาตรฐาน
หลักการในการสร้างห้องปลอดฝุ่น[edit]
หลักการในการทำห้องปลอดฝุ่นโดยสรุปมีอยู่ 3 ข้อด้วยกัน ได้แก่
“กั้น” ฝุ่นข้างนอกไม่ให้เข้ามาในห้องโดยการอุดรอยรั่วของห้อง
“กรอง” ฝุ่นในห้องโดยใช้เครื่องกรองอากาศ
“ดัน” ฝุ่นออกไปจากห้องโดยการนำอากาศจากข้างนอกห้องที่กรองแล้วเข้ามาในห้อง
การป้องกันฝุ่นจากภายนอก[edit]
หลักการของการป้องกันฝุ่นจากภายนอกคือการอุดรอยรั่วของห้องให้สนิท เพื่อไม่ให้ฝุ่นซึมผ่านเข้ามาในบริเวณห้องได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากเป็นขั้นตอนที่ช่วยให้การกรองฝุ่นและการดันฝุ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยขั้นตอนการดำเนินงานมีดังนี้
- ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดป้องกันไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปในห้อง
- ตรวจสอบรอยรั่วของอาคาร หากพบให้ดำเนินการปิดช่องหรือรูที่อากาศภาด้ยนอกเข้าอาคารด้วยวัสดุปิดผนึก เช่น ซีลประตู หรือเทปปิดร่องประตู หรือหน้าต่าง เป็นต้น
วัสดุสำหรับปิดรอยรั่วสามารถปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ แบบกึ่งถาวรและถาวร
แบบกึ่งถาวร
วัสดุชนิดนี้ใช้ปิดช่องรอยรั่วต่าง ๆ ภายในห้องปลอดฝุ่นสามารถหาได้ง่าย ราคาถูก และใช้ปิดรอยรั่วของอาคารในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อป้องกันอากาศผ่านเข้ามาในห้อง เมื่อหมดช่วงที่ฝุ่นละอองสูงสามารถถอดออกได้ เช่น พลาสติกใส เทปใส เทปกาวสองหน้า ปืนกาว ฟิวเจอร์บอร์ด เทปอลูมิเนียม เป็นต้น
แบบกึ่งถาวร
วัสดุชนิดนี้ใช้ปิดช่องรอยรั่วต่าง ๆ ภายในห้องปลอดฝุ่น สามารถปิดรอยรั่วของอาคารได้แบบถาวร รวมทั้งเพิ่มความสวยงานของห้อง เช่น แผ่นปิดรอยต่อเอนกประสงค์ ซิลิโคร แผ่นยิปซัม เทปติดช่องว่างประตู แผ่นปิดช่องลมอากาศ แผ่นฟอยล์อลูมิเนียม เป็นต้น
การกรองอากาศ[edit]
ระบบกรองอากาศ เป็นวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการลดฝุ่นละอองในห้องหลังจากการอุดรอยรั่วภายในห้อง และใช้เครื่องกรองอากาศเพื่อลดฝุ่นภายในห้อง โดยเลือกเครื่องกรองอากาศที่มีขายตามท้องตลาด หรือเครื่องกรองอากาศประดิษฐ์ก็ได้ มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
- หลังจากที่อุดรอยรั่ว ปิดช่องประตูหน้าต่างเสร็จแล้ว ให้ติดตั้งระบบฟอกอากาศเข้าไปในห้อง โดยคำนึงถึง ประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศให้มีขนาดเหมาะสม กับขนาดห้อง
- ควรบำรุงรักษาเครื่องกรองอากาศ โดยเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ เช่น แผ่นกรอง หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคู่มือหรือสังเกตจากแผ่นกรอง หากมีสะสมของฝุ่นละอองปริมาณมากควรทำการเปลี่ยน
การดันฝุ่นออกจากห้อง[edit]
เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูง ดำเนินการหลังจากการอุดรอยรั่วภายในห้อง โดยห้องปลอดฝุ่น ในรูปแบบความดันอากาศพร้อมระบบฟอกอากาศ สามารถดำเนินการได้โดยสร้างความกัน แตกต่างระหว่างห้อง โดยภายในห้องต้องไม่มีรอยรั่วมากเกินไปและไม่มีช่องเปิดอื่น ๆ หากต้องการให้พื้นที่มี ความดันมากหรือเป็นบวกจะมีการเติมอากาศเข้าไปในห้องเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนอากาศ
ดังนั้น การทำให้ห้องเป็นระบบความดันอากาศพร้อมระบบกรองอากาศ (Positives pressure) จึงควรเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและปลอดภัย ทั้งการเลือกใช้พัดลมระบายอากาศ (Blower) และ เครื่องกรองอากาศกรณีใช้แผ่นกรองอากาศควรเลือก MERV 11 ข้ึนไป หรือเลือกชนิด High-efficiency particulate air (HEPA) ซึ่งเป็นแผ่นกรองที่มีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาดเล็กมาก (Ultrafine Particles) อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ควรได้รับคำแนะนาจากวิศวกรหรือช่างที่มีความชำ นาญ
การเลือกห้องในการจัดทำห้องปลอดฝุ่น[edit]
ในการจัดทำห้องปลอดฝุ่นนั้น ควรมีการเลือกห้องที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำ หากเลือกห้องที่ไม่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ห้องปลอดฝุ่นไม่มีประสิทธิภาพหรือมีประสิทธิภาพต่ำ วิธีการเลือกห้องสามารถำได้ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ชนิดตามตารางต่อไปนี้
ระดับความเสี่ยง | รายละเอียด | |
---|---|---|
เขียว | จัดการได้ และควบคุมได้ | พื้นที่ที่สามารถควบคุมการเข้าออกได้ เช่น ห้องนอน ห้องทำงาน ห้องประชุม |
เหลือง | จัดการได้ แต่ควบคุมไม่ได้ | พื้นที่ที่สามารถควบคุมการเข้า-ออกได้บ้าง มีบางพื้นที่ต่อเชื่อมกับพื้นที่ที่ควบคุมได้ยาก เช่น ห้องน้ำ โถงบันได้ ทางขึ้นลงอาคาร พื้นที่ทางเข้าอาคาร |
แดง | จัดการไม่ได้ และควบคุมไม่ได้ | นที่ที่ไม่สามารถควบคุมการเข้า-ออกอาคารได้เลย เช่น โรงอาหาร โรงจอดรถ อาคารที่มีเพดานสูงมาก |
ห้องที่เป็นโซนสีเขียวนั้น เหมาะสำหรับการทำห้องปลอดฝุ่นมากที่สุด ส่วนโซนสีเหลืองนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ที่คุ้มค่าต่อการทำห้องปลอดฝุ่น แต่โซนสีแดงนั้นไม่เหมาะอย่างยิ่งแก่การทำห้องปลอดฝุ่น
ข้อควรระวังเพิ่มเติม[edit]
การทำห้องปลอดฝุ่น การระบายอากาศถือเป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการระบายไม่ดีจะเป็นแหล่งสะสมความร้อนและฝุ่นละออง รวมถึงการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ภายในห้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ดังนั้น จึงควรมีการระบายอากาศออกจากห้องหรือการจัดการการระบายอากาศออกจากห้องหรือพื้นที่เพื่อควบคุมความร้อน ความชื้นให้อยู่ในระดับที่จะรู้สึกสบายได้ และให้อากาศบริสุทธิ์เข้ามาเข้ามาแทนที่ได้ โดยอาจใช้การเปิดหน้าต่าง ประตูหรือเปิดพัดลมระบายอากาศในบางช่วงเวลาเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะเกิดขึ้น