ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)

From AirKM
Revision as of 16:49, 13 June 2022 by Kamonwit (talk | contribs) (Created page with "== คาร์บอนมอนอกไซด์ == ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็น ก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ก๊าซนี้สามารถสะสมอย...")
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

คาร์บอนมอนอกไซด์[edit]

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็น ก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ก๊าซนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปทำให้ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CoHb) ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น

แหล่งกำเนิด[edit]

ก๊าซนี้เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ การที่เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส ทําให้มีความเป็นอันตรายสูง เนื่องจากเราจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่ามีก๊าซนี้อยู่ในบรรยากาศ โดยปกติในบรรยากาศทั่วไปมีปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ประมาณ 0.1 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ในท้องถนนที่มีการจราจรหนาแน่นอาจมีค่าสูงถึง 100-200 ppm ซึ่งสามารถทําให้เกิดการวิงเวียนศีรษะ โดยหากระดับความเข้มขันสูงกว่า 1,000 ppm จะทําให้หมดสติและเสียชีวิตได้

สําหรับในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองหลักในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยมีแหล่งกําเนิดหลักของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์มาจากการระบายจากรถยนต์ต่างๆ ที่วิ่งอยู่บนท้องถนน และเครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ การติดเครื่องยนต์ขณะรถยนต์จอดอยู่กับที่ทําให้มีการระบายของก้าซชนิดนี้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะการจราจรหนาแน่นและติดขัด ทําให้เกิดการสะสมตัวของมลภาวะทางอากาศหลายชนิดในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ ในบ้านเรือนหรือกิจกรรมชุมชน เช่น การสูบบุหรี่ การจุดเตาถ่านในบ้านเรือน การปิ้งหรือการย่างอาหาร ทําให้มีการสะสมก๊าชนี้ในบรรยากาศในปริมาณสูงขึ้นซึ่งจะทําให้เป็นอันตรายโดยเฉพาะในห้องที่ไม่มีช่องระบายอากาศ

ผลกระทบ[edit]

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นมลพิษที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และได้ชื่อว่าเป็น “มลพิษไร้สีไร้กลิ่น” หรือ “ฆาตกรเงียบ” ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มีความสามารถในการละลายในเลือดได้ดีกว่าออกซิเจนถึง 200-250 เท่า เมื่อเราหายใจเข้าไปทําให้ก๊าซชนิดนี้ไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือดเกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CoHb) ทําให้ความสามารถของเลือดในการเป็นตัวนําออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ลดลง ทําให้เลือดขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย และหัวใจทํางานหนักขึ้น หากมนุษย์ได้รับก๊าซนี้ในปริมาณมากจะทําให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนและจะเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

สําหรับมาตรฐานก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ในบรรยากาศของประเทศไทย มีการกําหนดไว้ 2 ประเภท คือ

  • มาตรฐานค่าเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 30 ppm
  • มาตรฐานค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 9 ppm

อ่านเพิ่มเติม[edit]