หน้ากากป้องกันฝุ่น

From AirKM
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

หน้ากากป้องกันฝุ่น

หน้ากาก (Mask) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสําหรับการหายใจ รวมทั้งป้องกัน อันตรายจากมลพิษต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนในอากาศท่ีจะเข้าสู่ร่างกายผ่านการหายใจ เช่น ฝุ่นละออง สารระเหย แก๊ซ เป็นต้น

ประเภทของหน้ากาก

หน้ากากอนามัย[1]

หน้ากากอนามัย

หน้ากากอนามัย (Surgical masks) ผลิตขึ้นจากใยสังเคราะห์ เช่น พอลิพรอพิลีน ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ โดยหน้ากากอนามัยที่มี คุณภาพจะต้องมีชั้นกรองอย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อช่วยป้องกันเชื้อโรค มลพิษ หรือของเหลวจากภายนอก และช่วยดูดซับสารคัดหลั่งหรือความชื้นที่มาจากผู้ใช้ สามารถป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ถึง 3-5 ไมครอน

มาตรฐานการทดสอบหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว มาตรฐานทางฟิสิกส์สําหรับการทดสอบหน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว สํานักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อ้างอิงมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องท่ีกําหนดไว้ในมาตรฐานของหลาย ประเทศ เช่น มาตรฐานของประเทศออสเตรเลีย ได้แก่ AS 4381-2002 มาตรฐานของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ASTM F 2101, ASTM F 2299, ASTM F 1862, MIL-M- 36954C และมาตรฐานระหว่างประเทศ ได้แก่ ISO 22609

สําหรับประเทศไทย การผลิตหรือนําเข้าหน้ากากอนามัยจะต้องเป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว (มาตรฐานเลขที่ มอก. 2424-2552) โดยมีเนื้อหาสําคัญเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของหน้ากากอนามัย วัสดุที่ใช้ในการผลิต คุณลักษณะของหน้ากากที่ได้มาตรฐานโดย หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป จะต้องมีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียขนาด 3 ไมครอน ไม่น้อยกว่า 95% หน้ากากประเภทกรองละเอียดและประเภทต้านของเหลวซึมผ่าน จะต้องมีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ขนาด 3 ไมครอน และสามารถกรองอนุภาคขนาด 0.1 ไมครอน ไม่น้อยกว่า 98 % รายละเอียดการบรรจุ การพิมพ์ฉลาก รวมถึงวิธีการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม

หน้ากากกรองอากาศ N95[2]

หน้ากากกรองอากาศ

หน้ากากกรองอากาศ (Respirators) หรือในมาตรฐานของ สมอ. เรียกว่า “อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ” คือ อุปกรณ์ที่มีตัวกรองไว้ในตัว เพื่อกรองอนุภาค ดูดซับก๊าซและไอในขณะเดียวกัน ทั้งนี้หน้ากรองอากาศมี หลายยี่ห้อ หลายขนาด หลายรูปแบบ สามารถเลือกได้โดยพิจารณาจาก ประสิทธิภาพการกรองอนุภาค และขนาดที่กระชับกับใบหน้า เนื่องจากไม่มีหน้ากากเฉพาะกลุ่ม และรูปแบบต่าง ๆ ของหน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่ม ความสบายขณะสวมใส่ โดยตัวเลขด้านหลังบอกถึงประสิทธิภาพการกรอง เช่น 95 คือ สามารถกรองได้ 95% ซึ่งหน้ากากกรองอากาศท่ีได้รับการรับรอง ประสิทธิภาพการกรองตามมาตรฐานสากล เช่น

  1. มาตรฐานประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) หน่วยงาน NIOSH ระดับมาตรฐาน N95, Surgical N95, N99, N100, R95, P95, P99, P100
  2. มาตรฐานประเทศจีน (China) มาตรฐาน GB2626-2006 ระดับ KN90, KP90, KN95, KP95, KN100, KP100
  3. มาตรฐานไต้หวัน (Taiwan) มาตรฐาน CNS15980:2017 ระดับ Class A, Class B
  4. มาตรฐานสหภาพยุโรป (Europe) มาตรฐาน EN149:2001 ระดับ FFP1, FFP2, FFP3
  5. อื่น ๆ ได้แก่ มาตรฐานออสเตรเลีย AS/NZS

การเลือกใช้หน้ากาก

การเลือกใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นให้พิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. แผ่นกรองอากาศ (Filter test) ให้พิจารณาจากเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน
  2. การแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Respirator Fit Test) ให้เลือกขนาดที่เหมาะสมกับใบหน้าเพื่อให้ครอบกระชับ และทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) ในการใส่ทุกครั้ง โดยใช้มือทั้งสองข้างโอบรอบหน้ากากที่ทดสอบ จากนั้นหายใจออกแรง ๆ กว่าปกติ ถ้าหน้ากากยังแนบสนิทจะไม่มีการรั่วของลมหายใจออกมา
  3. ควรสังเกตวันหมดอายุ ขนาดเหมาะ ครอบได้กระชับ จมูกและใต้คาง หน้ากากไม่หัก งอ บิดเบี้ยว เปื้อนหรือฉีกขาด ไม่มีกลิ่นฉุน และมีสายรัดสองสาย

วิธีการสวมใส่หน้ากาก

หน้ากากอนามัย

  1. นําบานพับคว่ำลง ให้ขอบท่ีมีแถวลวด อยู่ด้านบน
  2. ดึงสายรัดท้ังสองข้างคล้องหู
  3. กดแถบลวดให้แนบสันจมูก
  4. ดึงหน้ากากให้คลุมถึงใต้คาง

ทั้งนี้ ก่อนและหลังการใส่หน้ากากทุกครั้งต้องล้างมือให้สะอาด รวมท้ังห้ามใช้หน้ากากร่วมกับคนอื่นและห้ามนําไปซักแล้วนํามาใช้ใหม่ เนื่องจากเป็นหน้ากากท่ีใช้ได้คร้ังเดียว

วิธีการสวมหน้ากากอนามัย[3]

หน้ากากกรองอากาศ

  1. สวมหน้ากากให้กระชับกับใบหน้าดึงสายรัดท้ังสองข้างคล้องหูหรือบางรุ่นให้ดึงสายรัดท้ังสองให้โอบรัดท่ีศีรษะให้แน่น
  2. กดโครงลวดให้แนบสันจมูก
  3. ทดสอบการแนบสนิทของหน้ากาก (Fittest)โดยใช้มือสองข้างโอบรอบหน้ากาก หายใจออกแรงกว่าปกติ ถ้าแนบสนิทกับใบหน้าจะไม่มีการรั่วของลมหายใจ

ท้ังนี้ หน้ากากกรองอากาศ (Respirators) สามารถใช้ซ้ำได้ แต่ควรเปลี่ยนเมื่อใส่แล้วหายใจลําบากมากข้ึน หรือฉีกขาด ใส่แล้วไม่กระชับดังเดิม เปื้อนสารคัดหลั่ง หรือเปียก

วิธีการสวมหน้ากากกรองอากาศ[3]

ข้อควรระมัดระวัง

  1. หากใส่หน้ากากกรองอากาศ แล้วมีอาการหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก เมื่อยล้า หรือปวดศีรษะ ให้ถอดหน้ากากออกและเปลี่ยนวิธีป้องกันตนเอง เช่น เช่น เข้าไปอยู่ในอาคารหรือหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีฝุ่นสูง เป็นต้น
  2. กลุ่มที่มีโรคประประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือด กลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และสตรีมีครรถ์ ควรขอคำปรึกษาแพทย์ก่อนใช้หน้ากากกรองอากาศ
  3. เมื่อหน้ากากสกปรก ฉีกขาดหรือใส่แล้วอึดอัด หายใจไม่ออก ควรเปลี่ยนใหม่
  4. การทิ้งหน้ากากที่ใช้แล้ว ให้ใส่ถุงพลาสติกหรือถุงซิปล็อค เพื่อปิดปากถุงให้แน่นสนิทและนำไปทิ้งถังขยะ

สื่อเพิ่มเติม

อ้างอิงรูป

[1] https://www.freeiconspng.com/img/49130

[2] https://www.officemate.co.th/en/3m-หน้ากากกันฝุ่นละอองpm2-5-20ชิ้นกล่อง-3m-8210-n95-ofm9003702

[3] รูปภาพโดย กรมอนามัย