ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)

From AirKM
Revision as of 15:54, 14 June 2022 by Kamonwit (talk | contribs)
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)
Jump to navigation Jump to search

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อน ๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กได้ ก๊าซนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

แหล่งกำเนิด

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วน ประกอบ ก๊าซชนิดนี้สามารถละลายนํ้าได้ดี สามารถเปลี่ยน เป็นซัลเพิอร์ไตรออกไซด์ (SO3) และกรดซัลฟิวริก (H2SO4) โดยปฏิกิริยาโพโตเคมีคอลในบรรยากาศ และสามารถรวมตัวกับมลพิษอื่น และก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กได้

แหล่งกำเนิดของก๊าซซัลเพิอร์ไดออกไซด์ตาม ธรรมชาติ เซ่น การระเบิดของภูเขาไฟ และแหล่งกำเนิดจาก กิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ถ่านหิน น้ำมันดีเซล การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน เป็นต้น

ผลกระทบ

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นก๊าซที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง และเยื่อบุตา ทำให้เกิดการแสบตา เมื่อเราหายใจเอาก๊าซชนิดนี้เข้าไป จะทำให้ก๊าซละลายในของเหลวในระบบทางเดินหายใจ เกิดเป็นกรดซัลฟิวริกซึ่งจะกัดกร่อนอวัยวะในระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ นอกจากนี้ก๊าซชนิดนี้ในรูปแบบของฝุ่นละอองยังมี ผลกระทบต่อทัศนวิสัย ทำให้ระยะการมองเห็นลดลง และสามารถกัดกร่อนวัสดุบางชนิด หรือทำลายเซลล์ของพืชได้

การกำหนดค่ามาตรฐานก๊าซซัลเฟอร่ไดออกไซด์ในบรรยากาศในประเทศไทย มี 3 ประเภท คือ

  • มาตรฐานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 0.3 ppm
  • มาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 0.12 ppm
  • มาตรฐานเฉลี่ย 1 ปี มีค่าไม่เกิน 0.04 ppm

อ่านเพิ่มเติม