ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2): Difference between revisions
(Created page with "== ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ == '''ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)''' เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม...") |
No edit summary |
||
Line 1: | Line 1: | ||
= ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ = | |||
'''ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)''' เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ | '''ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)''' เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ | ||
Latest revision as of 15:55, 14 June 2022
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์[edit]
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
แหล่งกำเนิด[edit]
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย เกิดได้จากธรรมชาติ ฟ้าแลบ ภูเขาไฟ ระเบิด หรือการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่าง ๆ เซ่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงในรถยนต์หรือเกิดจากอุตสาหกรรมบางชนิดเช่น การผลิตกรดไนตริก ออกไซด์ของไนโตรเจนมีหลายรูป ได้แก่ ไนตริกออกไซด์ (NO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ไนตรัสออกไซด์ (N2O), NO3, N2O3, N2O4, N2O5 โดยเราจะเรียกผลรวมของก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ที่สำคัญต่อกระบวนการโฟโตเคมีคอลออกซิเดชั่น ว่า ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งประกอบด้วย NO และ NO2 เป็นหลักซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากต่อการเกิดโอโซน (O3) ในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ การติดตั้งระบบกำจัดมลพิษ เช่น แคตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic Converter) ในรถยนต์ จะช่วยดักจับมลพิษชนิดนี้ ทำให้ลดการปลดปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม
ผลกระทบ[edit]
มนุษย์เริ่มได้กลิ่นก๊าซนี้ที่ระดับ 230 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หากมีความชื้นเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิด กลิ่นเร็วชื้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดอาจมีอาการเร็วชื้นหากได้รับก๊าซนี้ที่ระดับ 190 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คนทั่วไปเริ่มด้นมีอาการเมื่อได้รับก๊าซนี้ที่ระดับความเข้มข้นประมาณ 1,300-1,800 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือโรคเกี่ยวกับทางเดิน หายใจ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ในบรรยากาศ หากรวมตัวกับไอนํ้า จะสามารถเกิดเป็นกรดไนตริก (NHO3) ซึ่งมี ฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุต่าง ๆ รวมถึงทางเดินหายใจของมนุษย์ และเป็นสาเหตุของปัญหาฝนกรด นอกจากนี้ยังพบว่า ก๊าซชนิดนี้มีผลทำให้ผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดลดลง เช่น เมื่อมีความเข้มข้นในบรรยากาศสูงกว่า 0.5 ppm เป็นเวลามากกว่า 10 วัน
สำหรับมาตรฐานคุณภาพอากาศใบรรยากาศในประเทศไทย ได้กำหนดเป็นมาตรฐานก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- มาตรฐานเฉลี่ย 1 ชั่วโมง มีค่าไม่เกิน 0.17 ppm
- มาตรฐานเฉลี่ย 1 ปี มีค่าไม่เกิน 0.03 ppm