ดัชนีคุณภาพอากาศ: Difference between revisions

From AirKM
Jump to navigation Jump to search
No edit summary
 
(5 intermediate revisions by the same user not shown)
Line 1: Line 1:
=ดัชนีคุณภาพอากาศ=
=ดัชนีคุณภาพอากาศ=
ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด
'''ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)''' เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของ[[มลภาวะทางอากาศ|สารมลพิษทางอากาศ]] 6 ชนิด


==สารมลพิษทางอากาศ==
==สารมลพิษทางอากาศ==
Line 93: Line 93:
|'''301 - 500'''||อันตรายมาก||style="color:brown"|'''น้ำตาลอมแดง'''||ภัยฉุกเฉิน มลภาะทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนอย่างร้ายแรง
|'''301 - 500'''||อันตรายมาก||style="color:brown"|'''น้ำตาลอมแดง'''||ภัยฉุกเฉิน มลภาะทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนอย่างร้ายแรง
|}
|}
ทาง EPA ได้ให้คำนิยามเมื่อค่า AQI สูงเกิน 500 ว่าสูงเกินกว่า AQI (Beyond the AQI) และให้ปฏิบัติในรูปแบบเดียวกันกับสีน้ำตาลอมแดง เมื่อคำนวณค่า AQI ด้วยค่า[[มลภาวะทางอากาศ|มลภาวะทางอากาศ]]จะสามารถแบ่งสีของค่ามลภาวะทางอากาศออกมาได้ดังตารางต่อไปนี้
ทาง EPA ได้ให้คำนิยามเมื่อค่า AQI สูงเกิน 500 ว่าสูงเกินกว่า AQI (Beyond the AQI) และให้ปฏิบัติในรูปแบบเดียวกันกับสีน้ำตาลอมแดง เมื่อคำนวณค่า AQI ด้วยค่า[[มลภาวะทางอากาศ|มลภาวะทางอากาศ]]จะสามารถแบ่งสีของค่า[[มลภาวะทางอากาศ|มลภาวะทางอากาศ]]ออกมาได้ดังตารางต่อไปนี้
{| class="wikitable"
{| class="wikitable"
!rowspan="2"|AQI !! PM2.5 (μg/m3) !! PM10 (μg/m3) !! CO (ppb) !! O3 (ppm) !! O3 (ppm) !! NO2 (ppb) !! SO2 (ppb)
!rowspan="2"|AQI !! PM2.5 (μg/m3) !! PM10 (μg/m3) !! CO (ppb) !! O3 (ppm) !! O3 (ppm) !! NO2 (ppb) !! SO2 (ppb)
Line 117: Line 117:
การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI สามารถทำได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้
การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI สามารถทำได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้


PIC
[[file:Aqi.png|500px]]


โดยที่ Ip = ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของ[[มลภาวะทางอากาศ|สารมลพิษทางอากาศ]] p
โดยที่ Ip = ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของ[[มลภาวะทางอากาศ|สารมลพิษทางอากาศ]] p
Line 136: Line 136:


==อ่านเพิ่มเติม==
==อ่านเพิ่มเติม==
[https://airkm-admin.datascience.cmu.ac.th/compareAQI การเปรียบเทียบดัชนีคุณภาพอากาศ ระหว่างมาตรฐานไทยและสหรัฐอเมริกา]
*[https://airkm-admin.datascience.cmu.ac.th/compareAQI การเปรียบเทียบดัชนีคุณภาพอากาศ ระหว่างมาตรฐานไทยและสหรัฐอเมริกา]

Latest revision as of 14:43, 14 June 2022

ดัชนีคุณภาพอากาศ[edit]

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจของประชาชนทั่วไป เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด

สารมลพิษทางอากาศ[edit]

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)[edit]

ฝุ่นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากยานพาหนะ การเผาวัสดุการเกษตร ไฟป่า และกระบวนการอุตสาหกรรม สามารถเข้าไปถึงถุงลมในปอดได้ เป็นผลทําให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และโรคปอดต่างๆ หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทําให้การทํางานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทําให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด

ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)[edit]

ฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม การบด การโม่ หรือการทําให้เป็นผงจากการก่อสร้าง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเนื่องจากเมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปสะสมในระบบทางเดินหายใจ

ก๊าซโอโซน (O3)[edit]

ก๊าซโอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีหรือมีสีฟ้าอ่อน มีกลิ่นฉุน ละลายน้ำได้เล็กน้อย เกิดขึ้นได้ทั้งในระดับบรรยากาศชั้นที่สูงจากผิวโลก และระดับชั้นบรรยากาศผิวโลกที่ใกล้พื้นดิน ก๊าซโอโซนที่เป็นสารมลพิษทางอากาศคือก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศผิวโลก เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยก่อให้เกิดการระคายเคืองตาและระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและเยื่อบุต่างๆ ความสามารถในการทำงานของปอดลดลง เหนื่อยเร็ว โดยเฉพาะในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)[edit]

ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี กลิ่น และรส เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ ก๊าซนี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้โดยจะไปรวมตัวกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจนประมาณ 200-250 เท่า เมื่อหายใจเข้าไปทำให้ก๊าซชนิดนี้จะไปแย่งจับกับฮีโมโกลบินในเลือด เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CoHb) ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายลดน้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย และหัวใจทำงานหนักขึ้น

ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)[edit]

ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสีและกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ อุตสาหกรรมบางชนิด เป็นต้น ก๊าซนี้มีผลต่อระบบการมองเห็นและผู้ที่มีอาการหอบหืดหรือ โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)[edit]

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เป็นก๊าซที่ไม่มีสี หรืออาจมีสีเหลืองอ่อนๆ มีรสและกลิ่นที่ระดับความเข้มข้นสูง เกิดจากธรรมชาติและการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มีกำมะถัน (ซัลเฟอร์) เป็นส่วนประกอบ สามารถละลายน้ำได้ดี สามารถรวมตัวกับสารมลพิษอื่นแล้วก่อตัวเป็นอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กได้ ก๊าซนี้มีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุตา ผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศ[edit]

ลักษณะของเกณฑ์คุณภาพอากาศจะถูกแบ่งออกตามค่าดัชนีที่คำนวณออกมาและใช้สีเป็นแทนช่วงของค่าดัชนีต่าง ๆ โดยเกณฑ์นั้นจะเป็นตัวบ่งบอกว่าประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไร เกณฑ์ที่ใช้สำหรับคุณภาพอากาศมีหลากหลายเกณฑ์ ขึ้นอยู่กับประเทศและองค์กรที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้มีสีที่แตกต่างกัน

ประเทศไทย[edit]

เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของไทย จัดทำขึ้นโดยกรมควบคุมมลพิษโดยมีการแบ่งสีดังนี้

AQI ความหมาย สีที่ใช้ คำอธิบาย
0 - 25 คุณภาพอากาศดีมาก ฟ้า คุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว
26 - 50 คุณภาพอากาศดี เขียว คุณภาพอากาศดี สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ
51 - 100 ปานกลาง เหลือง ประชาชนทั่วไป : สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งคุณภาพอากาศดีมาก เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยว

101 - 200 เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ส้ม ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็นถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์

201 ขึ้นไป มีผลกระทบต่อสุขภาพ แดง ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

เมื่อคำนวณค่า AQI ด้วยค่ามลภาวะทางอากาศจะสามารถแบ่งสีของค่ามลภาวะทางอากาศออกมาได้ดังตารางต่อไปนี้

AQI PM2.5 (มคก./ลบ.ม.) PM10 (มคก./ลบ.ม.) O3 (ppb) CO (ppm) NO2 (ppb) SO2 (ppb)
เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
0 - 25 0 - 25 0 - 50 0 - 35 0 - 4.4 0 - 60 0 - 100
26 - 50 26 - 37 51 - 80 36 - 50 4.5 - 6.4 61 - 106 101 - 200
51 - 100 38 - 50 1 - 120 51 - 70 6.5 - 9.0 107 - 170 201 - 3000
101 - 200 51 - 90 121 - 180 71 - 120 9.1 - 30.0 171 - 340 301 - 400
มากกว่า 200 91 ขึ้นไป 181 ขึ้นไป 121 ขึ้นไป 30.1 ขึ้นไป 341 ขึ้นไป 401 ขึ้นไป

ช่วงเวลาเฉลี่ยและหน่วยสารมลพิษทางอากาศที่ใช้ในการคำนวน[edit]

  • PM2.5 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ มคก./ลบ.ม. หรือ µg./m3
  • PM10 เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร หรือ มคก./ลบ.ม. หรือ µg./m3
  • O3 เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ส่วนในพันล้านส่วน หรือ ppb หรือ 1/1,000,000,000
  • CO เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง : ส่วนในล้านส่วน หรือ ppm หรือ 1/1,000,000
  • NO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง : ส่วนในพันล้านส่วน หรือ ppb หรือ 1/1,000,000,000
  • SO2 เฉลี่ย 1 ชั่วโมง : ส่วนในพันล้านส่วน หรือ ppb หรือ 1/1,000,000,000

ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)[edit]

เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศสหรัฐอเมริกา จัดทำขึ้นโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency : EPA) โดยมีการแบ่งสีดังนี้

AQI ความหมาย สีที่ใช้ คำอธิบาย
0 - 50 คุณภาพอากาศดี เขียว คุณภาพอากาศดี มลภาวะทางอากาศไม่มีความเสี่ยงหรือทำความเสี่ยงน้อยมากต่อมนุษย์
51 - 100 ปานกลาง เหลือง คุณภาพอากาศพอใช้ อาจมีความเสี่ยงค่อกลุ่มที่มีประสาทสัมผัสไวต่อมลภาวะทางอากาศ
101 - 150 มีผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มผู้ที่มีประสาทสัมผัสไวต่อมลภาวะ ส้ม มลภาวะทางอากาศอาจส่งกระทบต่อสุขภาพของกลุ่มที่มีประสาทสัมผัสไวต่อมลภาวะทางอากาศ ประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบเล็กน้อย
151 - 200 มีผลกระทบต่อสุขภาพ แดง มลภาวะทางอากาศอาจส่งกระทบต่อสุขภาพประชาชนทั่วไปบางกลุ่ม และอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพกลุ่มผู้ที่มีประสาทสัมผัสไว
201 - 300 มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก ม่วง ภัยทางสุขภาพ มลภาะทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนเพิ่มขึ้น
301 - 500 อันตรายมาก น้ำตาลอมแดง ภัยฉุกเฉิน มลภาะทางอากาศส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคนอย่างร้ายแรง

ทาง EPA ได้ให้คำนิยามเมื่อค่า AQI สูงเกิน 500 ว่าสูงเกินกว่า AQI (Beyond the AQI) และให้ปฏิบัติในรูปแบบเดียวกันกับสีน้ำตาลอมแดง เมื่อคำนวณค่า AQI ด้วยค่ามลภาวะทางอากาศจะสามารถแบ่งสีของค่ามลภาวะทางอากาศออกมาได้ดังตารางต่อไปนี้

AQI PM2.5 (μg/m3) PM10 (μg/m3) CO (ppb) O3 (ppm) O3 (ppm) NO2 (ppb) SO2 (ppb)
เฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่อเนื่อง เฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อเนื่อง เฉลี่ย 1 ชั่วโมง
0 - 50 0 - 12 0 - 54 0 - 4.4 0 - 0.054 - 0 - 53 0 - 35
51 - 100 12.1 - 35.4 55 - 154 4.5 - 9.4 0.055 - 0.070 - 54 - 100 36 - 75
101 - 150 35.5 - 55.4 155 - 254 9.5 - 12.4 0.071 - 0.085 0.125 - 0.164 101 - 360 76 - 185
151 - 200 55.5 - 150.4 255 - 354 12.5 - 15.4 0.086 - 0.105 0.165 - 0.204 361 - 469 186 - 304
201 - 300 150.5 - 250.4 355 - 424 15.5 - 30.4 0.106 - 0.2 0.205 - 0.404 650 - 1249 305 - 604
301 - 400 250.5 - 350.4 425 - 504 30.5 - 40.4 - 0.405 - 0.504 1250 - 1649 605 - 804
401 - 500 350.5 - 500.4 505 - 604 40.5 - 50.4 - 0.505 - 0.604 1650 - 2049 805 - 1004

การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศ[edit]

การคำนวณดัชนีคุณภาพอากาศหรือ AQI สามารถทำได้โดยใช้สูตรดังต่อไปนี้

Aqi.png

โดยที่ Ip = ค่าดัชนีคุณภาพอากาศของสารมลพิษทางอากาศ p

Cp = ความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศจากการตรวจวัด

CLo, CHi = ค่าต่ำสุด, สูงสุด ของช่วงความเข้มข้นสารมลพิษทางอากาศที่มีค่า Cp

ILo, IHi = ค่าต่ำสุด, สูงสุด ของช่วงดัชนีคุณภาพอากาศที่ตรงกับช่วงความเข้มข้น Cp

ให้คำนวณค่า Ip ด้วยทุกสารมลพิษที่ได้วัดมา ให้ใช้สารมลพิษทางอากาศที่มีค่าดัชนีสูงสุดเป็นดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ณ ช่วงเวลานั้น (AQI = max(I1, I2, I3,...))

เว็บไซต์และแอปพลิเคชันสำหรับดัชนีคุณภาพอากาศ[edit]

  • Air4thai เป็นเว็บไซด์ที่สร้างขึ้นโดยกรมควบคุมมลพิษ โดยใช้เกณฑ์การคำนวณดัชนีแบบประเทศไทย มีทั้งรูปแบบแอปพลิเคชันในโทรศัพท์และเว็บไซต์
  • AirVisual หรือ IQAir เป็นเว็บไซด์ที่มีนิยมมากที่สุด โดยใช้เกณฑ์การคำนวณดัชนีแบบประเทศสหรัฐอเมริกา มีทั้งรูปแบบแอปพลิเคชันในโทรศัพท์ (AirVisual) และเว็บไซต์ (IQAir)
  • AQICN เป็นเว็บไซด์ของประเทศจีนที่มีสถานีตรวจวัดค่อนข้างมาก ใช้เกณฑ์การคำนวณดัชนีแบบประเทศสหรัฐอเมริกา มีรูปแบบเว็บไซต์เท่านั้น
  • CMAQHI เป็นเว็บไซด์ที่สร้างขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยใช้เกณฑ์การคำนวณดัชนีประเทศสหรัฐอเมริกา มีทั้งรูปแบบแอปพลิเคชันในโทรศัพท์และเว็บไซต์

อ่านเพิ่มเติม[edit]